เมื่อวานหนอเขียนว่า
หนอเป็นคนหน้าตาเฉยๆ ไม่ค่อยแสดงอารมณ์
ลักษณะที่ว่านั่นทำให้หนอใช้ชีวิตอยู่ที่อเมริกาลำบากมากเลยนะคะ
สมัยนั้นหนอเย็นชากว่าปัจจุบันนี้อีก
กับอะไรที่ไม่คุ้นเคยยิ่งเป็นหนัก
เรื่องสีหน้าท่าทางนี่ทางโน้นเขาแสดงออกมากกว่าคนไทยเยอะค่ะ
หนอเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนของ
Overseas Ed. ตอนอายุ 15 ปี
ได้ไปอยู่ที่อเมริกา
และใช้เวลาที่นั่น 10
เดือนเต็ม (1 ปีการศึกษา)
ช่วงนั้นต้องปรับตัวเยอะมาก
ภาษาอังกฤษที่ว่าเก่งเอามาใช้จริงไม่ได้
เรียนภาษาที่แท้ต้องไปเหยียบประเทศเขา
ไปใช้ภาษาเขาจริงๆ ค่ะ
Host
family ที่ไปอยู่ด้วยดูแลเรื่องอาหารการกินดีมาก
คุณแม่ของบ้านเป็นคนทำอาหารเก่ง
วันที่ไปถึง
เธอทำอาหารให้ทาน แล้วถามว่าอร่อยไหม
หนอตอบไปยิ้มๆ
ด้วยน้ำเสียงเรียบเฉยว่า “มันอร่อยดี”
เท่านั้นเอง
คุณแม่ก็หันไปบอกคุณพ่อว่า “เธอไม่ชอบมันค่ะ, จอห์น”
ไอ้เราก็นึกในใจ
“อุวะ
ก็บอกว่าอร่อยดี ไม่ได้ยินหรือไง”
เหตุการณ์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของ
Culture Shock ระลอกแรกๆ
ความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นมีขึ้นเมื่อหนอใช้เวลาในอเมริกานานขึ้น
เวลาคนเขาชิมอาหาร
เขาจะชมด้วยสีหน้าท่าทางและคำพูดที่ “ใหญ่”
ใหญ่...
รัชดาลัย... Broadway...
มัน
Over จนหนอสงสัยว่ามันมีอาหารที่ไม่อร่อยบ้างไหม
แต่หนอไม่ได้สนใจจะหาคำตอบ
หนอแค่ทำไปตามเขาก็เท่านั้น
“เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม” สินะ
“When
in Rome , do as
the Romans do” สินะ
สุดท้ายเราแค่ต้องรักษาน้ำใจ
สุดท้ายเราแค่ต้องทำตามมารยาท
การทำ
“ตามมารยาท”
นี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงการชิมอาหาร
ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการ
Act แต่ยังเป็นการ React ด้วย
การ
“ขอบคุณ”
ทุกครั้ง ต้องมีการตอบรับว่า “ยินดี” หรือ “ไม่เป็นไร” เสมอ
เป็นเช่นนั้นเสมอ
จนแต่ละครั้งหนอตอบแบบไม่คิดสักนิด
ซึ่งมันก็ควรจะเป็นเช่นนั้น
หนอกำลังมีมารยาทอยู่นี่นะ
หนอ
React ผู้คนด้วยสิ่งที่คนในสังคมนั้นๆ คาดหวังเสมอ
นิสัยนี้ยังคงติดตัวกลับมา
และยังถูกใช้อยู่เรื่อยๆ จนวันนี้
ส่วนหนึ่งก็
“ตามมารยาท”
ส่วนหนึ่งก็เพราะรู้ว่าคนฟังอยากได้ยิน
หนออยู่กับ
Host family จนรู้สึกว่าเป็นครอบครัวกันจริงๆ ไปเลย
เราบอกรักกัน
เราเป็นห่วงกัน เราใส่ใจว่าแต่ละคนชอบไม่ชอบอะไร
I
love you.
I
love you, too.
Love
you, Nora.
Love
you more, Michelle.
เราบอกรักและตอบรับการบอกรักแบบไม่คิดสักนิด
จนเป็นธรรมดาไปเสียแล้ว
เราบอกรักยิ้มๆ
ด้วยน้ำเสียงเรียบเฉย
เราบอกรักในทุกบริบทของการจากลา
ออกจากบ้าน
ไปโรงเรียน กลับเข้าหอในมหาวิทยาลัย
บอกรักก่อนวางโทรศัพท์
บอกรักตอนลงท้ายจดหมาย
นี่ก็เป็นอีกสิ่งที่หนอเคยตั้งคำถาม
แต่ไม่เคยต้องการคำตอบ
หนอแค่ทำไปตามเขาก็เท่านั้น
ส่วนหนึ่งก็
“ตามมารยาท”
ส่วนหนึ่งก็เพราะรู้ว่าคนฟังอยากได้ยิน
แล้วมันจะมีวันที่หนอ
“จริงใจ”
กับคำพูดไหม?
มีสิ...
ที่จริงแล้วหนอจริงใจกับคำพูดเสมอนะ
หนอพยายามใส่ใจกับการเลือกคำพูดมากขึ้น
ตั้งแต่หนอตั้งคำถามกับตัวเองเรื่องความจริงใจ
หนอพยายามรักษาน้ำใจคนอื่นไปพร้อมกับรักษาน้ำใจตัวเองด้วย
มันคงไม่ดีถ้าหนอพูดออกไปเพราะรู้ว่าคนฟังอยากฟัง
เหมือนโกหกทั้งตัวเขาและตัวเราไปพร้อมๆ
กันยังไงไม่รู้สิ
สิ่งที่ทำได้คือมีสติทุกครั้งที่จะคิด
จะพูด จะทำอะไร
ทำ
“ตามมารยาท”
ได้ แต่ต้องมีขอบเขต
อย่ารักษาน้ำใจใครจนถึงกับต้องโกหกกัน
เท่านั้นก็น่าจะพอแล้ว
"อย่ารักษาน้ำใจใครจนถึงกับต้องโกหกกัน" ชอบคำนี้ ;)
ReplyDeleteอินขึ้นมาเลยทีเดียว ;)
Delete